Home /1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 / 12

การตรวจประเมินรายวิชา Digital Arts 4 โดยคณาจารย์ สาขาวิชาทัศนศิลป์




ศุกร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓
ถ่ายภาพ โดย วีระชัย น้อยวงศ์ และ ณัฐกานต์ ปัดภัย

ณัฐกานต์ พ้นภัย และกำลังเคลื่อนไหว

ณัฐกานต์ ปัดภัย เริ่มต้นผลงานชิ้นแรกในวิชานี้ ด้วยการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิด อันได้แก่ ภาพถ่าย เพอร์ฟอร์มมานซ์ และ ประติมากรรมที่สร้างขึ้น โดยใช้วัสดุหลัก คือปูนและผลิตภัณฑ์จากเครื่องสำอางค์ หลังจากที่ได้ทดลองสร้างสรรค์ ณัฐกานต์พบว่าตนเองไม่มีความถนัดในการสร้างงานรูปแบบประติมากรรม เนื่องจากขาดทักษะและความชำนาญในการประกอบ ต่อ ติดหรือสร้างรูปด้วยวัสดุต่างๆ

ในผลงานชิ้นที่2 ณัฐกานต์จึงเปลี่ยนไปสร้างผลงานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการสร้างสีสันและน้ำหนักให้กับรูปทรง จากนั้นพิมพ์ภาพที่สร้างขึ้นลงบนพลาสติกโปร่งใส ที่สามารถมองทะลุได้ นำไปใส่กรอบโดยใช้กระจกเงาเป็นฉากหลัง ผลงานชิ้นนี้เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในผลงาน โดยการจ้องมองภาพสะท้อนของตนเองผ่านชั้นต่างๆในผลงานของเธอ

ผลงานชิ้นที่ 3 ณัฐกานต์เริ่มเล็งเห็นถึงสื่อที่สามารถถ่ายทอดแนวคิดของเธอได้ นั่นคือ ภาพถ่ายและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในงานชิ้นนี้ เธอค้นพบว่าการซ้อนกันของภาพถ่ายโปร่งแสงหลายๆภาพ ทำให้ภาพถ่ายเหล่านั้นเกิดการรวมตัวกัน จนเกิดเป็นรูปทรงสามมิติ ที่มีความน่าสนใจและถ่ายทอดแนวคิดของเธอได้

ผลงานชิ้นที่ 4 พัฒนามาจากผลงานชิ้นที่สาม ในเรื่องของรูปแบบและเทคนิควิธีการ ในผลงานชิ้นนี้ เธอเลือกที่จะใช้ตัวเองเป็นแบบในผลงาน นำเสนอผลของการใช้เครื่องสำอางค์ ที่สามารถทำให้คนหนึ่งคนมีบุคลิกภาพได้หลากหลาย ผลงานที่นำเสนอ สามารถมองเห็นได้รอบด้าน มิใช่เพียงการมองเห็นจากด้านหน้า และด้านหลังเท่านั้น ผลงานจึงมีลักษณะคล้ายประติมากรรม ที่สามารถมองเห็นได้รอบด้าน และภาพที่เกิดขึ้นจะมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนไปตามองศาของแสง ความสลับซับซ้อนของฉากหลัง และการซ้อนกันของภาพถ่าย

ณัฐกานต์นำเรื่องที่เธอสนใจ เรื่องที่เธอประสบพบเจอหรือมีประสบการณ์ตรง มาสร้างเป็นงานศิลปะ ทำให้การหาข้อมูลที่จะใช้ประกอบการสร้างสรรค์ สามารถหาได้ง่าย สังเกตหรือพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งจากสื่อโฆษณาต่างๆ หรือจากกลุ่มเพื่อนที่นิยมและสนใจเรื่องเครื่องสำอางค์ ณัฐกานต์ไม่ได้นำเสนอประเด็นหรือเนื้อหาที่กำลังอยู่กระแส เช่น ความขัดแย้งทางการเมือง ภาวะโลกร้อน หรือพยายามนำเสนอความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิด ผ่านทางวิถีชีวิต ความประทับใจ หรือจินตนาการต่างๆ แต่เลือกเนื้อหาที่เธอมีความสนใจอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยให้เธอเกิดความสนุกในการค้นหาข้อมูล และพัฒนาเทคนิควิธีการ อันจะทำให้ผลงานของตนมีสีสันและดึงดูดความสนใจแก่ผู้ชมได้มากยิ่งขึ้น

เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ / ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๓

สันติชัย ทิพย์เนตร ผลงานชิ้นที่ 4





รูปแบบผลงาน : ภาพถ่าย

แนวคิด : ต้องการสะท้อนให้เห็นถึง ลักษณะของสังคมและกลุ่มชนชั้นสูง โดยใช้เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นชนชั้น

ณัฐกานต์ ปัดภัย ผลงานชิ้นที่ 4





แนวคิด : เกิดจากการทำเรื่อง make up ของผู้หญิงรอบตัวหรือจากคนคุ้นตา สิ่งที่เห็นบ่อยๆ แล้วหันกลับมามองดูตัวเอง ซึ่งในฐานะที่ฉันก็เป็นผู้หญิงเหมือนกัน แต่ฉันก็เลือกที่จะ make up ในบางครั้ง บางครั้งในบทบาทที่มาเรียน กับบทบาทที่ฉันอยู่ในสังคมเพื่อน มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันอยากจะนำเสนอ

อุไรทิพย์ ผมหอม ผลงานชิ้นที่ 4



รูปแบบผลงาน : อินสตอลเลชั่น อาร์ต

อาทิตย์ แก้วแสนไชย ผลงานชิ้นที่ 4



รูปแบบผลงาน: อินสตอลเลชั่น อาร์ต

แนวคิด: การเดินเข้าไปในสภาวะที่หนาแน่น ทำให้เกิดความอึดอัดจากการถูกบีบรัดโดยรูปทรงที่เรียงรายอยู่สองข้างของทางเดิน

เกียรติพงษ์ ลงเย ผลงานชิ้นที่ 4

-------

-------

-------

-------

รูปแบบผลงาน: ภาพถ่ายขาวดำ
แนวคิด: ความสงบในช่วงเวลาเงียบสงัดของกลางคืน ก่อนที่มีกิจกรรมมากมายเกิดขึ้นกับการมาถึงของแสงอาทิตย์และผู้คน

สิทธิชัย นามโคตร ผลงานชิ้นที่ 4

เกริกชัย นุ้ยธารา ผลงานชิ้นที่ 4

อภิวัฒน์ ศรีดาพรหม ผลงานชิ้นที่ 4

เจนจิรา อัสดร ผลงานชิ้นที่ 4


เกียรติพงษ์ ลงเย ผลงานชิ้นที่ 3




รูปแบบผลงาน : ภาพถ่าย
แนวคิด: การนำเสนอบรรยากาศแห่งความสงบที่ปรากฎอยู่ในพื้นที่แห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นความสงบที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของเวลา

การวิเคราะห์ผลงานศิลปะดิจิทัล

การสร้างสรรค์เกิดจากเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเรียกสิ่งนั้นได้ว่าเป็น ปม แต่ที่สำคัญคือปัจจัยที่กระตุ้นเร้า ให้เกิดความต้องการที่จะกระทำการสร้าง / แสดงออก ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ปัจจัยที่เป็นประสบการณ์ชีวิต ปัจจัยที่เป็นประสบการณ์ทางความคิด หรือแม้กระทั่ง ปัจจัยที่เป็นประสบการณ์ทางศิลปะ
แนวความคิดเกิดขึ้นภายหลัง การมีประสบการณ์ทางศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ที่มีลักษณะแตกต่างกัน แนวความคิดของบางคนเกิดจากการทดลองจนเกิดเป็น ลักษณะเฉพาะ ของการแสดงออกและนำมาอธิบายในรูปของแนวความคิด ในขณะที่บางคนใช้แนวความคิดที่มีอยู่แล้ว หาวิธีการแสดงออกทางศิลปะที่เหมาะสมจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะตัวในภายหลัง ที่มาของแนวความคิดจึงสามารถอธิบายได้เป็น ๒ ลักษณะดังที่ปรากฏในตาราง

การค้นหาความคิด
การแสดงออก -> แนวความคิด

การค้นหาวิธีการแสดงออก
แนวความคิด -> การแสดงออก

ผู้สร้างสรรค์จะไม่สามารถวิเคราะห์ผลงานนั้นๆได้หากไม่เข้าใจแนวความคิดที่แปรไปสู่เจตนาการแสดงออกของตนเองในผลงาน ฉะนั้นแนวความคิดจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจากความว่างเปล่า หากแต่เกิดขึ้นโดยสัมพันธ์กับประสบการณ์การแสดงออกทางศิลปะของผู้สร้างสรรค์ เช่น อะไรสามารถสื่อถึงอะไร อะไรทำให้รู้สึกและคิดถึงอะไรได้

การวิเคราะห์อยู่ภายใต้การมอง ๓ ส่วน
๑. องค์ประกอบของการแสดงออก ซึ่งรับรู้ได้จากการมองเห็น โดยแยกได้เป็น ๔ ส่วน

การแสดงออกของผู้สร้างสรรค์ในผลงาน > ความมุ่งหมาย (ความคิด / อารมณ์) การสื่อสาร
ทัศนธาตุ / สื่อวัสดุ หลักองค์ประกอบศิลปะ หลักการสื่อสาร
เทคนิค / วิธีการแสดงออก / สื่อ วิธีการรับรู้เฉพาะ
รูปแบบ / วิธีนำเสนอ อิทธิพลทางศิลปกรรม < การรับรู้ของผู้ชม

ผลงานสร้างสรรค์เป็นการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบทั้ง ๔ ส่วน แต่จะมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ตามลักษณะเฉพาะ ในผลงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างขึ้น เช่น ผลงานที่มีต้องการสื่อถึงความรู้สึกจะมีความโดดเด่นในเรื่องการใช้สีที่มีเทคนิควิธีการรองรับ ผลสัมฤทธิ์ของการสื่อสารจึงเกิดจากความสามารถในการใช้ทัศนธาตุร่วมกับเทคนิค

ทัศนธาตุ -> เทคนิค -> อารมณ์ ->รูปแบบ

ส่วนรูปแบบ/วิธีการนำเสนอ เป็นการสร้างกระบวนการรับรู้ให้แก่ผลงาน เช่น การใช้รูปแบบเหมือนจริงจะทำให้เกิดการมองเห็นว่าเป็นรูปสิ่งใด (คน, สิ่งของ, ทิวทัศน์) ก่อนมองเป็นทัศนธาตุ (เส้น, รูปทรง, สี)

รูปแบบ -> ความคิด/อารมณ์ -> ทัศนธาตุ -> เทคนิค

การวิเคราะห์ผลงานศิลปกรรมประเภทสื่อสมัยใหม่ หรือสื่อผสมจะมีวิธีการรับรู้ผลงานที่เป็นลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป เช่น การดูงานในพื้นที่ของศิลปะจัดวาง การสื่อความหมายในงานภาพถ่าย หรือเวลาในผลงานวิดีโอ คล้ายเป็น เงื่อนไข หรือข้อจำกัดในการดูงาน ซึ่งถือเป็นภาษาและไวยกรณ์เฉพาะของสื่อประเภทนั้นๆ

๒. ผลสัมฤทธิ์ของการแสดงออกที่สัมพันธ์กับแนวความคิด ซึ่งต้องอาศัยหลักการวิเคราะห์ องค์ประกอบของการแสดงออก ในผลงานชิ้นนั้นๆ เช่น หลักการสื่อสาร หลักสุนทรียภาพ หรือ หลักการตีความหมาย ว่าสัมฤทธิ์ผลหรือไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างไร เพราะอะไร
๓. พัฒนาการของผลงาน คือ สาระสำคัญที่ได้จากผลงานชิ้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ความคิด หรือ วิธีแก้ปัญหา ที่ถูกนำไปใช้กับผลงานในชิ้นต่อไป เป็นประสบการณ์ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นพัฒนาการของ การแสดงออก ในผลงานแต่ละชิ้นที่เปลี่ยนไปหรือแตกต่างกัน

ประทีป สุธาทองไทย

สันติชัย ทิพย์เนตร ผลงานชิ้นที่ 3









รูปแบบผลงาน ภาพถ่าย

แนวคิด: สภาวะของสังคมไทยในปัจจุบัน มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งในสังคมเมืองและสังคมชนบท อันเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้คนไทยได้รับค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ผู้คนลืมรากฐานความเป็นตัวตน ทำให้ผู้คนในสังคม เกิดกิเลส เกิดความอยากเป็น อยากได้สิ่งต่างๆ

อภิวัฒน์ ศรีดาพรหม ผลงานชิ้นที่ 3







รูปแบบผลงาน คอมพิวเตอร์อาร์ต

Home / 1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 / 12