Home /1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 / 12

การตรวจประเมินรายวิชา Digital Arts 4 โดยคณาจารย์ สาขาวิชาทัศนศิลป์




ศุกร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓
ถ่ายภาพ โดย วีระชัย น้อยวงศ์ และ ณัฐกานต์ ปัดภัย

ณัฐกานต์ พ้นภัย และกำลังเคลื่อนไหว

ณัฐกานต์ ปัดภัย เริ่มต้นผลงานชิ้นแรกในวิชานี้ ด้วยการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิด อันได้แก่ ภาพถ่าย เพอร์ฟอร์มมานซ์ และ ประติมากรรมที่สร้างขึ้น โดยใช้วัสดุหลัก คือปูนและผลิตภัณฑ์จากเครื่องสำอางค์ หลังจากที่ได้ทดลองสร้างสรรค์ ณัฐกานต์พบว่าตนเองไม่มีความถนัดในการสร้างงานรูปแบบประติมากรรม เนื่องจากขาดทักษะและความชำนาญในการประกอบ ต่อ ติดหรือสร้างรูปด้วยวัสดุต่างๆ

ในผลงานชิ้นที่2 ณัฐกานต์จึงเปลี่ยนไปสร้างผลงานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการสร้างสีสันและน้ำหนักให้กับรูปทรง จากนั้นพิมพ์ภาพที่สร้างขึ้นลงบนพลาสติกโปร่งใส ที่สามารถมองทะลุได้ นำไปใส่กรอบโดยใช้กระจกเงาเป็นฉากหลัง ผลงานชิ้นนี้เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในผลงาน โดยการจ้องมองภาพสะท้อนของตนเองผ่านชั้นต่างๆในผลงานของเธอ

ผลงานชิ้นที่ 3 ณัฐกานต์เริ่มเล็งเห็นถึงสื่อที่สามารถถ่ายทอดแนวคิดของเธอได้ นั่นคือ ภาพถ่ายและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในงานชิ้นนี้ เธอค้นพบว่าการซ้อนกันของภาพถ่ายโปร่งแสงหลายๆภาพ ทำให้ภาพถ่ายเหล่านั้นเกิดการรวมตัวกัน จนเกิดเป็นรูปทรงสามมิติ ที่มีความน่าสนใจและถ่ายทอดแนวคิดของเธอได้

ผลงานชิ้นที่ 4 พัฒนามาจากผลงานชิ้นที่สาม ในเรื่องของรูปแบบและเทคนิควิธีการ ในผลงานชิ้นนี้ เธอเลือกที่จะใช้ตัวเองเป็นแบบในผลงาน นำเสนอผลของการใช้เครื่องสำอางค์ ที่สามารถทำให้คนหนึ่งคนมีบุคลิกภาพได้หลากหลาย ผลงานที่นำเสนอ สามารถมองเห็นได้รอบด้าน มิใช่เพียงการมองเห็นจากด้านหน้า และด้านหลังเท่านั้น ผลงานจึงมีลักษณะคล้ายประติมากรรม ที่สามารถมองเห็นได้รอบด้าน และภาพที่เกิดขึ้นจะมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนไปตามองศาของแสง ความสลับซับซ้อนของฉากหลัง และการซ้อนกันของภาพถ่าย

ณัฐกานต์นำเรื่องที่เธอสนใจ เรื่องที่เธอประสบพบเจอหรือมีประสบการณ์ตรง มาสร้างเป็นงานศิลปะ ทำให้การหาข้อมูลที่จะใช้ประกอบการสร้างสรรค์ สามารถหาได้ง่าย สังเกตหรือพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งจากสื่อโฆษณาต่างๆ หรือจากกลุ่มเพื่อนที่นิยมและสนใจเรื่องเครื่องสำอางค์ ณัฐกานต์ไม่ได้นำเสนอประเด็นหรือเนื้อหาที่กำลังอยู่กระแส เช่น ความขัดแย้งทางการเมือง ภาวะโลกร้อน หรือพยายามนำเสนอความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิด ผ่านทางวิถีชีวิต ความประทับใจ หรือจินตนาการต่างๆ แต่เลือกเนื้อหาที่เธอมีความสนใจอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยให้เธอเกิดความสนุกในการค้นหาข้อมูล และพัฒนาเทคนิควิธีการ อันจะทำให้ผลงานของตนมีสีสันและดึงดูดความสนใจแก่ผู้ชมได้มากยิ่งขึ้น

เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ / ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๓

สันติชัย ทิพย์เนตร ผลงานชิ้นที่ 4





รูปแบบผลงาน : ภาพถ่าย

แนวคิด : ต้องการสะท้อนให้เห็นถึง ลักษณะของสังคมและกลุ่มชนชั้นสูง โดยใช้เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นชนชั้น

ณัฐกานต์ ปัดภัย ผลงานชิ้นที่ 4





แนวคิด : เกิดจากการทำเรื่อง make up ของผู้หญิงรอบตัวหรือจากคนคุ้นตา สิ่งที่เห็นบ่อยๆ แล้วหันกลับมามองดูตัวเอง ซึ่งในฐานะที่ฉันก็เป็นผู้หญิงเหมือนกัน แต่ฉันก็เลือกที่จะ make up ในบางครั้ง บางครั้งในบทบาทที่มาเรียน กับบทบาทที่ฉันอยู่ในสังคมเพื่อน มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันอยากจะนำเสนอ

อุไรทิพย์ ผมหอม ผลงานชิ้นที่ 4



รูปแบบผลงาน : อินสตอลเลชั่น อาร์ต

อาทิตย์ แก้วแสนไชย ผลงานชิ้นที่ 4



รูปแบบผลงาน: อินสตอลเลชั่น อาร์ต

แนวคิด: การเดินเข้าไปในสภาวะที่หนาแน่น ทำให้เกิดความอึดอัดจากการถูกบีบรัดโดยรูปทรงที่เรียงรายอยู่สองข้างของทางเดิน

เกียรติพงษ์ ลงเย ผลงานชิ้นที่ 4

-------

-------

-------

-------

รูปแบบผลงาน: ภาพถ่ายขาวดำ
แนวคิด: ความสงบในช่วงเวลาเงียบสงัดของกลางคืน ก่อนที่มีกิจกรรมมากมายเกิดขึ้นกับการมาถึงของแสงอาทิตย์และผู้คน

สิทธิชัย นามโคตร ผลงานชิ้นที่ 4

เกริกชัย นุ้ยธารา ผลงานชิ้นที่ 4

อภิวัฒน์ ศรีดาพรหม ผลงานชิ้นที่ 4

เจนจิรา อัสดร ผลงานชิ้นที่ 4


เกียรติพงษ์ ลงเย ผลงานชิ้นที่ 3




รูปแบบผลงาน : ภาพถ่าย
แนวคิด: การนำเสนอบรรยากาศแห่งความสงบที่ปรากฎอยู่ในพื้นที่แห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นความสงบที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของเวลา
Home / 1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 / 12