Home /1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 / 12

การวิเคราะห์ผลงานศิลปะดิจิทัล

การสร้างสรรค์เกิดจากเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเรียกสิ่งนั้นได้ว่าเป็น ปม แต่ที่สำคัญคือปัจจัยที่กระตุ้นเร้า ให้เกิดความต้องการที่จะกระทำการสร้าง / แสดงออก ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ปัจจัยที่เป็นประสบการณ์ชีวิต ปัจจัยที่เป็นประสบการณ์ทางความคิด หรือแม้กระทั่ง ปัจจัยที่เป็นประสบการณ์ทางศิลปะ
แนวความคิดเกิดขึ้นภายหลัง การมีประสบการณ์ทางศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ที่มีลักษณะแตกต่างกัน แนวความคิดของบางคนเกิดจากการทดลองจนเกิดเป็น ลักษณะเฉพาะ ของการแสดงออกและนำมาอธิบายในรูปของแนวความคิด ในขณะที่บางคนใช้แนวความคิดที่มีอยู่แล้ว หาวิธีการแสดงออกทางศิลปะที่เหมาะสมจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะตัวในภายหลัง ที่มาของแนวความคิดจึงสามารถอธิบายได้เป็น ๒ ลักษณะดังที่ปรากฏในตาราง

การค้นหาความคิด
การแสดงออก -> แนวความคิด

การค้นหาวิธีการแสดงออก
แนวความคิด -> การแสดงออก

ผู้สร้างสรรค์จะไม่สามารถวิเคราะห์ผลงานนั้นๆได้หากไม่เข้าใจแนวความคิดที่แปรไปสู่เจตนาการแสดงออกของตนเองในผลงาน ฉะนั้นแนวความคิดจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจากความว่างเปล่า หากแต่เกิดขึ้นโดยสัมพันธ์กับประสบการณ์การแสดงออกทางศิลปะของผู้สร้างสรรค์ เช่น อะไรสามารถสื่อถึงอะไร อะไรทำให้รู้สึกและคิดถึงอะไรได้

การวิเคราะห์อยู่ภายใต้การมอง ๓ ส่วน
๑. องค์ประกอบของการแสดงออก ซึ่งรับรู้ได้จากการมองเห็น โดยแยกได้เป็น ๔ ส่วน

การแสดงออกของผู้สร้างสรรค์ในผลงาน > ความมุ่งหมาย (ความคิด / อารมณ์) การสื่อสาร
ทัศนธาตุ / สื่อวัสดุ หลักองค์ประกอบศิลปะ หลักการสื่อสาร
เทคนิค / วิธีการแสดงออก / สื่อ วิธีการรับรู้เฉพาะ
รูปแบบ / วิธีนำเสนอ อิทธิพลทางศิลปกรรม < การรับรู้ของผู้ชม

ผลงานสร้างสรรค์เป็นการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบทั้ง ๔ ส่วน แต่จะมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ตามลักษณะเฉพาะ ในผลงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างขึ้น เช่น ผลงานที่มีต้องการสื่อถึงความรู้สึกจะมีความโดดเด่นในเรื่องการใช้สีที่มีเทคนิควิธีการรองรับ ผลสัมฤทธิ์ของการสื่อสารจึงเกิดจากความสามารถในการใช้ทัศนธาตุร่วมกับเทคนิค

ทัศนธาตุ -> เทคนิค -> อารมณ์ ->รูปแบบ

ส่วนรูปแบบ/วิธีการนำเสนอ เป็นการสร้างกระบวนการรับรู้ให้แก่ผลงาน เช่น การใช้รูปแบบเหมือนจริงจะทำให้เกิดการมองเห็นว่าเป็นรูปสิ่งใด (คน, สิ่งของ, ทิวทัศน์) ก่อนมองเป็นทัศนธาตุ (เส้น, รูปทรง, สี)

รูปแบบ -> ความคิด/อารมณ์ -> ทัศนธาตุ -> เทคนิค

การวิเคราะห์ผลงานศิลปกรรมประเภทสื่อสมัยใหม่ หรือสื่อผสมจะมีวิธีการรับรู้ผลงานที่เป็นลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป เช่น การดูงานในพื้นที่ของศิลปะจัดวาง การสื่อความหมายในงานภาพถ่าย หรือเวลาในผลงานวิดีโอ คล้ายเป็น เงื่อนไข หรือข้อจำกัดในการดูงาน ซึ่งถือเป็นภาษาและไวยกรณ์เฉพาะของสื่อประเภทนั้นๆ

๒. ผลสัมฤทธิ์ของการแสดงออกที่สัมพันธ์กับแนวความคิด ซึ่งต้องอาศัยหลักการวิเคราะห์ องค์ประกอบของการแสดงออก ในผลงานชิ้นนั้นๆ เช่น หลักการสื่อสาร หลักสุนทรียภาพ หรือ หลักการตีความหมาย ว่าสัมฤทธิ์ผลหรือไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างไร เพราะอะไร
๓. พัฒนาการของผลงาน คือ สาระสำคัญที่ได้จากผลงานชิ้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ความคิด หรือ วิธีแก้ปัญหา ที่ถูกนำไปใช้กับผลงานในชิ้นต่อไป เป็นประสบการณ์ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นพัฒนาการของ การแสดงออก ในผลงานแต่ละชิ้นที่เปลี่ยนไปหรือแตกต่างกัน

ประทีป สุธาทองไทย

สันติชัย ทิพย์เนตร ผลงานชิ้นที่ 3









รูปแบบผลงาน ภาพถ่าย

แนวคิด: สภาวะของสังคมไทยในปัจจุบัน มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งในสังคมเมืองและสังคมชนบท อันเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้คนไทยได้รับค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ผู้คนลืมรากฐานความเป็นตัวตน ทำให้ผู้คนในสังคม เกิดกิเลส เกิดความอยากเป็น อยากได้สิ่งต่างๆ

อภิวัฒน์ ศรีดาพรหม ผลงานชิ้นที่ 3







รูปแบบผลงาน คอมพิวเตอร์อาร์ต

เกริกชัย นุ้ยธารา ผลงานชิ้นที่ 3

รูปแบบผลงาน วีดีโออาร์ต

แนวคิด การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของคนที่เป็นแบบ อันเป็นผลมาจากปริมาณของแอลกอฮอล์ที่ดื่มในปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ

สิทธิชัย นามโคตร ผลงานชิ้นที่ 3

รูปแบบผลงาน วีดีโออาร์ต

อุไรทิพย์ ผมหอม ผลงานชิ้นที่ 3



รูปแบบผลงาน อินสตอลเลชั่น อาร์ต

ณัฐกานต์ ปัดภัย ผลงานชิ้นที่ 3








รูปแบบผลงาน: สื่อผสม

แนวคิด :
จากความงามใกล้ตัวที่เห็นอยู่เป็นประจำ ใบหน้าที่ไม่มีการ make up เป็นเบื้องหลังความงามที่ผู้คนมองเห็น และบางทีก็ลืมนึกถึงมันไป

อาทิตย์ แก้วแสนไชย ผลงานชิ้นที่ 3





รูปแบบผลงาน อินสตอลเลชั่น อาร์ต

เจนจิรา อัสดร ผลงานชิ้นที่ 3




รูปแบบผลงาน วีดีโอ อาร์ต
Home / 1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 / 12